CHICCO BABY ON BOARD การคำนึงเมื่อซื้อคาร์ซีท - Kiddo Pacific

CHICCO BABY ON BOARD สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อคาร์ซีท

CHICCO BABY ON BOARD

 

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีจะมีเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ประสบอุบัติเหตุจากการโดยสารรถยนต์ รถปิกอัพ หรือรถตู้กว่า 5500 รายต่อปี หรือ 15 คนต่อวัน เป็นการบาดเจ็บรุนแรงที่ต้องการการนอนพักรักษาตัวหรือสังเกตอาการในโรงพยาบาลประมาณ 1400 คนต่อปี และเสียชีวิตรวมประมาณ 70 คนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นรถปิกอัพกว่า 1190 ราย และรถยนต์ทั่วไปอีก 170 ราย

ในช่วง 10 วันของเทศการสงกรานต์ จะมีเด็กบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 1100 ราย เป็นการบาดเจ็บรุนแรงที่เกิดจากการโดยสารรถยนต์ รถตู้ รถปิกอัพ ประมาณ 132 ราย ในจำนวนนี้มีการเสียชีวิตจำนวน 6 ราย

 

 

เมื่อรถยนต์มีการเบรกอย่างกระทันทัน หักเลี้ยวขวาอย่างฉับพลัน หรือ ชนอย่างรุนแรง สิ่งที่เกิดขึ้นในทันทีก็คือ ร่างของเด็กๆ จะหลุดลอยจากที่นั่ง ไปอัดกับแผงคอนโซลน้ารถ ปะทะกับกระจกหน้ารถ แล้วทะลุลอยละลิ่วออกนอกรถ หรือ ประตูรถเปิดออก แล้วเด็กกระเด็นออกนอกรถ ด้วยรูปร่างเล็กบอบบางของเด็กๆ จึงทำให้กะโหลกศีรษะ กระดูกซี่โครง แขนขา แตกหัก ปอด หัวใจ รวมทั้งอวัยวะภายในช่องท้องต้องชอกช้ำ หรือ ฉีกขาดโดยเฉพาะศีรษะของเด็กๆ ที่กระแทกอย่างรุนแรง ทำให้มีเลือดออกในสมอง เป็นเหตุแห่งความพิการ หรือ เสียชีวิต

 

กลศาสตร์ของร่างกายเด็ก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการชนผู้โดยสารที่ เป็นเด็กจะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูง กว่าผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยทางร่างกายของเด็ก ซึ่งร่างกายของเด็กจะไม่แข็งแรงเท่าของผู้ใหญ่ การเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะภายในยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยทั่วไปเด็กจะมีส่วนร่างกายที่เล็กและมีศีรษะใหญ่ประมาณ 60% ของร่างกาย รอยต่อของกะโหลกศีรษะยังไม่ปิดทำให้เกิดเลือดออกได้ง่าย, กระดูกต้นคอหักง่ายเนื่องจากศีรษะมีน้ำหนักมาก และเลือดออกในปอดได้ง่ายด้วย นอกจากนี้ตับและม้ามของเด็กโดยปกติจะแล่บออกมาทำให้ตับแตกม้ามแตกได้ ง่ายกว่าผู้ใหญ่  นอกจากสรีระของเด็กที่ทำให้เด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูงกว่าผู้ใหญ่แล้ว การออกแบบเบาะนั่งรถยนต์รวมถึงตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ยังเป็นตัวการ เพิ่มโอกาสให้เด็กได้รับบาดเจ็บสูงขึ้น เนื่องจากเป็นการออกแบบสำหรับผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่เด็กซึ่งมีรูปร่างต่างจากผู้ใหญ่ไปนั่งในผลิตภัณฑ์ที่ถูกออก แบบมาสำหรับผู้ใหญ่ก็จะทำให้เกิดอันตรายได้

 

 

โดยทั่วไปเมื่อเด็กเข้ามานั่งในรถยนต์จะมีลักษณะการนั่งพิเศษกว่าผู้ใหญ่ กล่าวคือ

1. เมื่อเด็กนั่งอยู่ในที่นั่งรถที่มีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับร่างกายของเขา ตัวเด็กก็จะเลื่อนลงเพื่อให้เขาสามารถงอเข่าที่ขอบของที่นั่งได้

2. ท่านั่งที่ร่นลงมาเช่นนี้ สายของเข็มขัดนิรภัยที่คาดผ่านหน้าตักจะเคลื่อนขึ้นไปอยู่บนระนาบเดียวกับ พื้นที่ช่องท้อง

3. ที่ตำแหน่งนี้ สายเข็มขัดนิรภัยส่วนที่คล้องไหล่จะเลื่อนมาพาดผ่านส่วนคอหรือใบหน้าของเด็ก แทนที่จะพาดผ่านไหปลาร้าเชกเช่นเดียวกับในกรณีของผู้ใหญ่

4. หากสายเข็มขัดนิรภัยส่วนคล้องไหล่ยังคงอยู่ในตำแหน่งนี้กระดูกสันหลัง ส่วนคอของเด็กจะมีความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บสูง อย่างไรก็ตามเมื่อสายเข็มขัดนิรภัยส่วนคล้องไหล่พาดผ่านส่วนคอหรือใบหน้าของ เด็ก ตัวเด็กเองมักจะจับสายคล้องไหล่มาวางไว้ใต้แขนของพวกเขาซึ่งจะส่งผลให้มี ความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อปอดและหัวใจของพวกเขาหรือจับมาวางไว้ทาง ด้านหลังร่างกายของพวกเขา 
 5. ในอุบัติเหตุรถชนกันส่วนใหญ่ ร่างกายของเด็กจะพุ่งไปข้างหน้ารถอย่างรุนแรง  เข็มขัดนิรภัยอาจช่วยทำให้เด็กยังคงอยู่ในรถ แต่เด็กเล็กอาจจะหลุดออกมา 

6. ร่างกายของเด็กจะมีลักษณะคล้าย “มีดพับขนาดใหญ่” เนื่องจากสายของเข็มขัดนิรภัยส่วนหน้าตักพยายามที่จะหน่วงเหนี่ยวการพุ่งไป ข้างหน้าของเด็ก ทำให้เกิดแรงมหาศาลระหว่างสายของเข็มขัดนิรภัยกับบริเวณช่องท้องของเด็ก เป็นสาเหตุให้เกิดกลุ่มอาการบาดเจ็บบริเวณลำไส้, อวัยวะและกระดูกสันหลังที่รู้จักกันในชื่อ “กลุ่มอาการเข็มขัดนิรภัย (Seat belt syndrome)” (Winston, Durbin, Kallan , และ Moll, 2000) มีการตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก พบว่า เด็กเสียชีวิตเพราะกระดูกต้นคอหัก หรือท้องแตก กระดูกสันหลังหัก จำนวนมาก รวมถึงบางรายคอเกือบขาด เพราะถูกสายเข็มขัดนิรภัยบาดในจังหวะที่เข็มขัดกระตุกเพื่อยึดรั้งร่างกาย

7. ศีรษะของเด็กจะเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว บ่อยครั้งที่ใบหน้าเด็กจะตีเข้ากับเบาะที่อยู่ด้านหน้าของเด็ก แผงหน้าปัด หรือแม้กระทั่งที่นั่งหรือพื้นใต้ตัวเด็ก รูปที่ 1

8. หากระบบยึดเหนี่ยวไม่สามารถยึดเด็กไว้กับเบาะได้ ตัวเด็กจะหลุดลอยจากที่นั่งและกระแทกกับส่วนประกอบอื่นในรถ หรือหลุดลอยออกนอกรถ มีรายงานการศึกษาจาก Williams AF ซึ่งศึกษาเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี จำนวน 38 ราย ที่เสียชีวิตจากการหลุดออกนอกรถ พบว่า 35 รายกระเด็นออกจากประตู 2 รายออกทางหน้าต่างและอีกรายออกทางรูที่เกิดขึ้นบนพื้นรถ โดยทั้ง 38 รายไม่ได้ใช้เข็มขัดและที่เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

 

กอดลูก ให้นั่งตัก = รักลูกผิดทาง เมื่อรถท่านมีถุงลมนิรภัย

 

 

ภาพที่เราเห็นตามท้องถนน ส่วนใหญ่ก็คือ ผู้ใหญ่อุ้มเด็กบนตัก แล้วนั่งด้านหน้าข้างคนขับ พ่อแม่คงอยากให้ลูกอยู่ใกล้ชิดเผื่อเกิดอุบัติเหตุลูกก็คงปลอดภัยในอ้อมกอดของพ่อแม่ แต่ความจริงก็คือ แรงมหาศาลของการปะทะของจากการชนหรือแรงจากการเบรกกระทันทันนั้นมันเกินกำลังที่พ่อแม่จะยึดลูกอยู่ หนำซ้ำการนั่งห่างจากถุงลมนิรภัยใกล้กว่า 25 ซม เมื่อมันระเบิดออกมา แรงกระแทกจากถุงลมนิรภัยก็สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงต่อเด็กได้

 

 

ถุงลมนิรภัยจะระเบิดกางออกโดยปฏิกิริยาเคมีก่อให้เกิดก๊าซไนโตเจน (30-100 ลิตรแล้วแต่รุ่น) อย่างรวดเร็วในเวลา ½ วินาที ผู้โดยสารจะได้รับความปลอดภัยเสริมจากถุงลมต่อเมื่อนั่งห่างถุงลมอย่างน้อย 25 ซม เท่านั้น หากนั่งใกล้กว่านี้จะเกิดอันตราย จากการกระแทกของถุงลมเอง โดยเฉพาะในเด็กที่นั่งตักแม่ทำให้เด็กอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมน้อยเกินไป มีรายงานการเสียชีวิตจากถุงลมในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงกว่าสองร้อยราย ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเด็กน้อยกว่าสิบสองปี และการบาดเจ็บของสมองเป็นสาเหตุหลัก

 

 

มีรายงานโดยศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐ (Center for Disease Control) ถึงการตายของเด็กอายุ 3 สัปดาห์ –12 ปีที่เกิดจากถุงลมนิรภัย และการศึกษาที่ประเทศกรีกในเด็ก 219 ราย อายุ 0-11 ปีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์โดยนั่งด้านหน้าและไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัย พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บมากกว่ากลุ่มที่นั่งด้านหลังและไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยเช่นกันถึง 5 เท่าตัว เบาะหลังจึงเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี

 

สำหรับเด็กนั้นจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ได้เหมาะสมปลอดภัยก็ต่อเมื่อมีอายุ 9 ปีขึ้นไป หรือ มีน้ำหนักมากกว่า 30 กก. หรือความสูงตั้งแต่ 140 ซม. ขึ้นไปเท่านั้น มิฉะนั้นเข็มขัดนิรภัย อาจกลายเป็นตัวการทำอันตรายต่อเด็กๆอย่างรุนแรง แต่ใน พรบ จราจรของบ้านเรากำหนดไว้ในมาตรา 123 ว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่ รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับ ที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัย

หากเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี หรือ สูงกว่า 140 ซม. แทนที่เข็มขัดนิรภัยสายล่างจะพาดบนหน้าตัก และแนบบริเวณเชิงกราน แต่กลับมารัดตรงท้องน้อย สายบนแทนที่จะพาดที่หน้าอก และไหล่ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก ดังนั้นหากรถเบรก หรือชนอย่างกะทันหัน เข็มขัดจะทำอันตรายแก่อวัยวะภายในช่องท้องและลำคอของเด็กได้

 

รักลูกอย่ากอด ใช้ที่นั่งนิรภัย CHICCO BABY ON BOARD

  1. หากลูกของเรามีอายุไม่เกิน 9 ปี “ ที่นั่งหรือเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก” จะช่วยปกป้องชีวิตของเด็กๆ National Highway Traffic Safety Administration ของสหรัฐได้ทำการศึกษาและพบว่า ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กนี้จะลดความเสี่ยงต่อการตายในเด็กทารกถึงร้อยละ 69 และเด็ก 1-4 ปี ร้อยละ 47 ขณะเดียวกัน จะลดความเสี่ยงต่อการตายในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี ได้ร้อยละ 45 ปี และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงร้อยละ 50
  2. สำหรับทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก และต้องจัดวางที่นั่งนิรภัย ที่เบาะหลัง โดยหันหน้าไปทางด้านหลังรถเท่านั้น เพื่อลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชนหรือเบรกรุนแรง
  3. เด็กอายุ 1-3 ปี ให้พยายามใช้ที่นั่งนิรภัยเบาะหลัง โดยหันหน้าไปทางด้านหลังรถ ตราบเท่าที่ตัวเด็กไม่สูงเกินที่นั่งนิรภัย หรือน้ำหนักไม่เกินตามที่บริษัทกำหนดไว้ หากเด็กตัวโตเกินกว่าข้อกำหนดที่นั่งนิรภัยแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กซึ่งจะหันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ แต่ยังคงใช้ที่เบาะหลังเท่านั้น
  4. เด็กอายุ 8-12 ควรใช้ที่นั่งสำหรับเด็กเล็กต่อไปจนตัวสูงหรือน้ำหนักเกินว่าข้อกำหนดของที่นั่งนิรภัยที่ใช้ จึงเปลี่ยนมาเป็นที่นั่งเสริม (Booster seat) ซึ่งจะราคราประหยัดไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัว ใช้เข็มขัดนิรภัยรถยนต์เป็นอุปกรณ์ยึดเหนี่ยว เด็กวันนี้ยังคงต้องนั่งเบาะหลังเท่านั้น
  5. เด็กอายุ 8-12 ปี ควรใช้ที่นั่งเสริม (Booster seat) จนกว่าสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้พอดี โดยทั่วไปควรจะต้องมีอายุมากกว่า 9 ปี ขึ้นไป
  6. เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด เด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปีต้องนั่งเบาะหลังเท่านั้น CHICCO BABY ON BOARD
  7. ในกรณีรถปิกอัพ ห้ามไม่ให้มีผู้โดยสารในกะบะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ผู้โดยสารในกะบะหลังมีความเสี่ยงมากกว่าผู้นั่งในรถ 3 เท่าตัว เด็กที่นั่งในรถปิกอัพต้องใช้ที่นั่งนิรภัยเหมือนกัน แต่ให้ใช้กับที่นั่งตอนหน้าโดยหันหน้าตามปรกติและต้องไม่มีถุงลมข้างคนขับ (หรือมีแต่สามารถปิดการทำงานได้)

 

การพิจารณาเลือกซื้อคาร์ซีท

 

CHICCO BABY ON BOARD
CHICCO BABY ON BOARD 〡วิธีช่วยป้องกันอาการเมารถของลูกน้อยระหว่างการเดินทาง

Chicco Baby on Board 〡เดินทางอย่างปลอดภัย

CHICCO BABY ON BOARD 〡เดินทางปลอดภัยไปกับ ISOFIX

CHICCO BABY ON BOARD〡การใช้สายรัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยตลอดการเดินทาง

REF: Kiddo Youtube Channel

 Car Seat